เมนู

ย่อมได้รับประโยชน์ ฉันใด แม้พระอริยสาวกผู้ได้สดับ (ธรรมของ
พระอริยะ) ก็ฉันนั้น ไม่ยึดถือเบญจขันธ์ว่าเป็นเรา หรือว่าของเรา
โดยนัยเป็นต้นว่า ไม่พิจารณาเห็นรูปว่าเป็นอัตตา ทราบว่า เบญจขันธ์
เหล่านี้เป็นศัตรูของเราแล้วประกอบเข้ากับวิปัสสนา โดยเป็นรูปสัตตกะ
(หมวดเจ็ดของรูป) และอรูปสัตตกะ (หมวดเจ็ดของอรูป) เป็นต้น
หลีกเว้นทุกข์ซึ่งเกิดจากเบญจขันธ์นั้น ย่อมได้บรรลุเป็นพระอรหันต์
อันเป็นผลที่เลิศ.
บทที่เหลือในสูตรนี้ง่ายทั้งนั้น.
จบ อนุราธสูตร

4. อนุราธสูตร



ว่าด้วยสัตว์บุคคลไม่มีในขันธ์ 5



[208] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กูฎาคารศาลา
ป่ามหาวัน กรุงเวสาลี
ก็สมัยนั้น ท่านพระอนุราธะอยู่ที่กระท่อมในป่า
ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้น อัญญเดียรถีย์ปริพาชกพากันเข้า
ไปหาท่านพระอนุราธะจนถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยกับท่าน
พระอนุราธะ ครั้นผ่านการสนทนาปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันแล้ว
จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. แล้วจึงได้กล่าวกะท่านพระอนุราธะว่า
ดูก่อนท่านอนุราธะ พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุ
ธรรมที่ควรบรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัติใน
ฐานะ 4 นี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก 1 ย่อมไม่เกิดอีก 1
ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี 1 ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก
ก็หามิได้ 1 เมื่อพวกปริพาชกกล่าวอย่างนั้นแล้ว ท่านพระอนุราธะ

ได้กล่าวกะอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย
พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควร
บรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัตินอกจากฐานะ 4
เหล่านี้ คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก 1 ย่อมไม่เกิดอีก 1
ย่อมเกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี 1 ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก
ก็หามิได้ 1 เมื่อท่านพระอนุราธะกล่าวอย่างนั้นแล้ว อัญญเดียรถีย์
ปริพาชก
เหล่านั้นได้กล่าวกะท่านพระอนุราธะว่า ภิกษุนี้จักเป็นภิกษุใหม่
บวชแล้วไม่นาน ก็หรือว่าเป็นภิกษุเถระ แต่โง่เขลาไม่ฉลาด. ครั้งนั้น
พวกอัญญเดียรถียร์ปริพาชกกล่าวรุกรานท่านพระอนุราธะด้วยวาทะว่า
เป็นภิกษุใหม่และเป็นผู้โง่เขลาแล้ว พากันลุกจากอาสนะหลีกไป.
[209] เมื่ออัญญเดียรถียร์ปริพาชกเหล่านั้นหลีกไปแล้วไม่นาน
ท่านพระอนุราธะได้มีความคิดว่า ถ้าอัญญเดียรถียร์ปริพาชกเหล่านั้น
พึงถามเราต่อไป เมื่อเราพยากรณ์อย่างไรจึงจะชื่อว่าไม่เป็นผู้กล่าวตาม
ที่อัญญเดียรถียร์ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว และชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตาม
ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว ไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วยคำอันไม่จริง และพึงพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งสหธรรมิก
ไร ๆ ผู้กล่าวคล้อยตามวาทะ จะไม่พึงถูกวิญญูชนติเตียนได้ ลำดับนั้น
ท่านพระอนุราธะจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจนถึงที่ประทับ ฯลฯ
แล้วกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทาน
พระวโรกาส ข้าพระองค์อยู่ที่กระท่อมในป่า ไม่ไกลพระผู้มีพระภาคเจ้า
ครั้งนั้น พวกอัญญเดียรถียร์ปริพาชกเป็นอันมาก พากันเข้าไปหา
ข้าพระองค์ถึงที่อยู่ ฯลฯ กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ดูก่อนท่านพระอนุราธะ
พระตถาคตทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควร

บรรลุชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัติในฐานะ 4 เหล่านี้
คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก 1 ย่อมไม่เกิดอีก 1 ย่อมเกิด
อีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี 1 ย่อมเกิดก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดก็หามิได้ 1
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว
ข้าพระองค์จึงได้กล่าวกะพวกเขาว่า ดูก่อนท่านทั้งหลาย พระตถาคต
ทรงเป็นอุดมบุรุษ ทรงเป็นบรมบุรุษ ทรงบรรลุธรรมที่ควรบรรลุ
ชั้นเยี่ยม เมื่อจะทรงบัญญัติ ย่อมทรงบัญญัติ นอกจากฐานะ 4 เหล่านี้
คือ สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก 1 ย่อมไม่เกิดอีก 1 ย่อม
เกิดอีกก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี 1 ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีก
ก็หามิได้ 1 ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อข้าพระองค์กล่าวอย่างนั้นแล้ว
อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นได้กล่าวกะข้าพระองค์ว่า ภิกษุนี้จักเป็น
ภิกษุใหม่ บวชไม่นาน ก็หรือว่าเป็นเถระแต่โง่เขลาไม่ฉลาด.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นรุกรานข้าพระองค์
ด้วยวาทะว่า เป็นผู้ใหม่ เป็นผู้เขลา แล้วลุกจากอาสนะหลีกไป เมื่อ
อัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นหลีกไปแล้วไม่นาน ข้าพระองค์เกิด
ความคิดว่า ถ้าอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นพึงถามเราต่อไป เมื่อ
เราพยากรณ์อย่างไร จึงจะชื่อว่าไม่เป็นผู้กล่าวตามที่อัญญเดียรถีย์
ปริพาชกเหล่านั้นกล่าวแล้ว และชื่อว่าเป็นผู้กล่าวตามที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
ตรัสแล้ว ไม่พึงกล่าวตู่พระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคำอันไม่จริง
และพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งสหธรรมิกไร ๆ ผู้กล่าวคล้อย
ตามวาทะ จะไม่พึงถูกวิญญูชนติเตียนได้.
[210] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า ดูก่อนอนุราธะ
เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน รูปเที่ยงหรือไม่เที่ยง ?

อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็นทุกข์หรือเป็นสุขเล่า ?
อ. เป็นทุกข์ พระเจ้าข้า.
ภ. ก็สิ่งใดไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรหรือที่จะตามเห็นสิ่งนั้นว่า นั่นของเรา เราเป็นนั่น นั่นเป็นอัตตา
ของเรา ?
อ. ไม่ควรเห็นอย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เที่ยงหรือไม่เที่ยง ?
อ. ไม่เที่ยง พระเจ้าข้า.
ภ. เพราะเหตุนี้แล ฯลฯ อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้
ฯลฯ ย่อมรู้ชัดว่า ฯลฯ กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
[211] ภ. ดูก่อนอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
เธอย่อมเห็นรูปว่าเป็นสัตว์บุคคลหรือ ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. เธอย่อมเห็นเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณว่าเป็นสัตว์
บุคคลหรือ ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[212] ภ. ดูก่อนอนุราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลในรูปหรือ ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลต่างหากจากรูปหรือ ?

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลในเวทนาหรือ ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลต่างหากจากเวทนาหรือ ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลในสัญญาหรือ ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลต่างหากจากสัญญาหรือ ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลในสังขารหรือ ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลต่างหากจากสังขารหรือ ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลในวิญญาณหรือ ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. เธอย่อมเห็นว่าสัตว์บุคคลต่างหากจากวิญญาณหรือ ?
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[213] พ. ดูก่อนราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลมีรูป มีเวทนา มีสัญญา มีสังขาร มีวิญญาณ
อย่างนั้นหรือ ?

อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
[214] พ. ดูก่อนราธะ เธอจะสำคัญความข้อนั้นเป็นไฉน
เธอย่อมเห็นว่า สัตว์บุคคลนี้ไม่มีรูป ไม่มีเวทนา ไม่มีสัญญา ไม่มีสังขาร
ไม่มีวิญญาณ อย่างนั้นหรือ ?.
อ. ไม่ใช่อย่างนั้น พระเจ้าข้า.
ภ. ดูก่อนราธะ ก็โดยที่จริง โดยที่แท้ เธอค้นหาสัตว์บุคคลใน
ขันธ์ 5 เหล่านี้ในปัจจุบันไม่ได้เลย ควรหรือที่เธอจะพยากรณ์ว่า
พระตถาคตเป็นอุดมบุรุษ เป็นบรมบุรุษ บรรลุธรรมที่ควร บรรลุ
ชั้นเยี่ยม เมื่อจะบัญญัติ ย่อมบัญญัติเว้นจากฐานะ 4 เหล่านี้ คือ
สัตว์เบื้องหน้าแต่ตายแล้ว ย่อมเกิดอีก 1 ย่อมไม่เกิดอีก 1 ย่อมเกิดอีก
ก็มี ย่อมไม่เกิดอีกก็มี 1 ย่อมเกิดอีกก็หามิได้ ย่อมไม่เกิดอีกก็หามิได้ 1 ?
อ. ข้อนั้นไม่ควรเลย พระเจ้าข้า.
ภ. ถูกละ ๆ อนุราธะ ทั้งเมื่อก่อนและทั้งบัดนี้ เราย่อมบัญญัติ
ทุกข์ และความดับทุกข์.
จบ อนุราธสูตรที่ 4

อรรถกถาอนุราธสูตรที่ 4



พึงทราบวินิจฉัยในอนุราธสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อรญฺญกุฏิกายํ ได้แก่ ในบรรณศาลา (ตั้งอยู่)
ท้ายวิหารนั้นนั่นแล.
บทว่า ตํ ตถาคโต คือพระตถาคตผู้เป็นศาสดา ของท่านทั้งหลาย.